วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Anti-oxidant Mushroom : แอนติออกซิแดนต์กับเห็ด

                                             เห็ดกับแอนติออกซิแดนต์



เมื่ออนุมูลอิสระเกิดขึ้นในร่างกาย จะไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันและอาจทำลายดีเอ็นเอในเซลล์ ทำให้เกิดการกลายพันธุ์เปลี่ยนเป็นเซลล์ร้าย

แต่ทว่าจริงๆแล้วร่างกายเราทุกคนมีกลไกทางชีวภาพที่จะกำจัดอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ เราสามารถช่วยให้ร่างกายทำหน้าที่เหล่านี้ได้ดีขึ้น ด้วยการเสริมสารแอนติออกซิแดนต์ตามธรรมชาติเข้าไป ต่อไปนี้คือสูตรแอนติออกซิแดนต์ที่ควรรับประทานเป็นประจำ
  • แคโรทีนอยด์ : แหล่งอาหารธรรมชาติที่ดีที่สุดของแคโรทีนอยด์ คือผักและผลไม้สีส้มเหลือง เช่น มะม่วง ข้าวโพด มันฝรั่ง แครอท มะเขือเทศ และผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักคะน้า หากไม่ค่อยได้กินผักเหล่านี้ให้กินผลิตภัณฑ์เสริมแคโรทีนอยด์วันละ 10,000-20,000 IU โดยเลือกที่มีแอลฟาแคโรทีน เบต้าแคโรทีน และควรมีลูทีนกับไลโคปีนรวมอยู่ด้วย
  • วิตามินอี : ทางที่ดีควรเป็นวิตามินอีคอมเพล็กซ์ 80 มิลลิกรัม และมีโทโคไทรอีนอลอย่างน้อย 15 มิลลิกรัม ควรหลีกเลี่ยงวิตามินอีสังเคราะห์ที่เรียกว่า "ดีแอล-แอลฟา-โทโคฟีรอล" (DL-alpha-tocopherol) และควรกินวิตามินอีพร้อมกับซีลีเนียมโดยกินพร้อมอาหารเพื่อให้ไขมันจากอาหารช่วยในการดูดซึม
  • วิตามินซี : เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ที่มีประสิทธิภาพ วิตามินซีไม่ก่อให้เกิดพิษ แม้จะกินในขนาดสูงๆก็ตาม
  • ซีลีเนียม : เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ที่มีประสิทธิภาพในการต้านมะเร็งดีเยี่ยม อย่างไรก็ตาม ซีลีเนียมมีความเป็นพิษอยู่ แม้จะกินในขนาดไม่สูงมาก
  • โคเอนไซม์คิวเท็น : เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ตามธรรมชาติอีกชนิดหนึ่ง กินวันละ 60  มิลลิกรัม เลือกประเภทที่เป็นใส เพราะดูดซึมได้ดีกับอาหารประเภทไขมัน และควรกินพร้อมอาหารมื้อที่คุณกินมากที่สุด
  • เห็ด : นักวิจัยได้ค้นคว้าเกี่ยวกับประโยชน์ของเห็ดว่าช่วยเสริมภูมิชีวิตได้ โดยพบความเป็นไปได้อย่างหนึ่งว่า เห็ดมีพอลิแซคคาไรด์ ซึ่งทำปฎิกิริยากระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบของผนังเซลล์คล้ายเชื้อแบคทีเรียและกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิชีวิตเหมือนกัน อีกทั้งยังพบว่าพลังในการเยียวยาของเห็ดจะมากขึ้นหากใช้เห็ดหลายชนิดรวมกัน ซึ่งได้ประโยชน์มากกว่าใช้ชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียว

    เห็ดแครง
    คุณค่าอาหารที่ดีต่อร่างกายพร้อมกับการต่อต้านมะเร็ง

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เมนูเห็ดแครง 1 : คั่วกลิ้งเห็ดแครง

                                            เมนูเห็ดแครง : คั่วกลิ้งเห็ดแครง

เมนูนี้ใช้เห็ดแครงแทนเนื้อสัตว์
ได้โปรตีนจากเห็ดแครง
รับประทานแล้วอร่อย ไขมันต่ำ ได้คุณค่าอาหารครบ
ปลอดภัยจากสารเคมี สารปนเปื้อน และสารกระตุ้นต่างๆที่มีในเนื้อสัตว์

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คุณค่าอาหารที่ได้จากเห็ดแครง : Nutrients from Split Gill mushroom


เห็ดแครงสด
โปรตีน วิตามินและเกลือแร่สูง แต่ไขมันน้อย
ปลอดภัยจากสารเคมี เมล็ดทรายและเมล็ดกรวด
                                         

                         คุณค่าอาหารที่ได้จากเห็ดแครง

ชนิดของเห็ด     น้ำ      พลังงาน      ไขมัน       คาร์โบ       โปรตีน        เส้นใย     เถ้า
                       (กรัม)  (แคลอรี่)       (กรัม)       (กรัม)         (กรัม)         (กรัม)     (กรัม)
เห็ดแครง       63.90    126.74       0.193       27.74        3.51          3.271     1.443
เห็ดนางรม      89.90      34.55       0.048         5.08         2.73          0.487     0.677
เห็ดหอม         92.40      21.55       0.043         2.95         2.34          1.308     0.652
เห็ดฟาง          89.90      32.38       0.071         4.75         3.16          0.595     0.986
เห็ดหูหนู         10.60      30.96       0.013         6.94         0.77          1.474     0.319

ขอขอบคุณข้อมูลจาก...กรมส่งเสริมการเกษตร, 2547


                           
     ปริมาณวิตามินและเกลือแร่ของเห็ดชนิดต่างๆ

ชนิดของเห็ด    วิตามินบี1       วิตามินบี2    ไนอาซิน      วิตามินซี      แคลเซียม   เหล็ก      ฟอสฟอรัส
                              (มก.)           (มก.)           (มก.)           (มก.)            (มก.)         (มก.)         (มก.)
เห็ดแครง              1.100          0.60            2.50           2.40               17.73         3.96         181.98
เห็ดนางรม          0.006           0.15             3.11             0                 2.31           1.60          83.56
เห็ดหอม             0.001           0.24             3.23             0                 2.30            2.22         58.59
เห็ดฟา                0.011            0.14             2.87          0.67               5.56           1.27       105.81
เห็ดหนู                0.001           0.09             0.26             0                27.96          3.09         14.96

ขอขอบคุณข้อมูลจาก....กรมส่งเสริมการเกษตร, 2547




เห็ดแครงในโรงเพาะชำ
ที่ได้รับการควบคุมความปลอดภัย ให้ปราศจากสารปนเปื้อน
ซึ่งอาจพบได้ในเห็ดตามธรรมชาติในปัจจุบัน


วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เห็ดแครงหรือเห็ดตีนตุ๊กแก

                                             
                                            เห็ดแครงหรือเห็ดตีนตุ๊กแก

เห็ดแครงหรือเห็ดตีนตุ๊กแก มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Schizophyllum commune Fr สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยขึ้นบริเวณ กิ่งไม้ ขอนไม้ เปลือกไม้ ซึ่งถ้าเนื้อไม้แห้ง และได้รับความชื้นก็จะมีเห็ดชนิดนี้ขึ้น สามารถเพาะเลี้ยงโดยใช้วิธีแบบเดียวกับเห็ดนางฟ้า โดยเพาะทางภาคใต้ของประเทศไทย สามารถพบได้ ตามท่อนไม้ยางพาราและกิ่งไม้จำพวกสะตอ เหรียง มะม่วง ขึ้นเป็นกลุ่มกระจายเต็มท่อนไม้ หรือกิ่งไม้แห้ง

ลักษณะของเห็ดแครง


ลักษณะของเห็ดแครงที่ดีและสมบูรณ์
เพาะเลี้ยงในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ แสง และปราศจากเชื้อโรค
ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

เห็ดแครงมีขนาดเล็กรูปพัด หรือตีนตุ๊กแก สีขาวหม่น ขนาด 1.3x1.4 เซนติเมตร ผิวด้านบนมีขนละเอียดสีเดียวกัน ด้านล่างมีครีบสีน้ำตาล หรือ น้ำตาลอมม่วง ซึ่งเรียงเป็นรัศมีออกไปจากฐานดอก มองดูคล้ายลายหอยแครง ไม่มีก้านหรือมีก็สั้นมาก เห็ดชนิดนี้มีสปอร์สีขาวรูปร่างเป็นท่อนสั้นๆ ถึงแม้ว่าเป็นเห็ดที่มีดอกขนาดเล็ก แต่ก็รู้จักกันแพร่หลายเนื่องมาจากรสชาติความอร่อย

คุณค่าของเห็ดแครง

เห็ดแครงเป็นเห็ดที่มีแร่ธาตุอาหารต่างๆ เป็นอาหารบำรุงร่างกายทำให้สุขภาพดี อีกทั้งมีสาร Schizophyllan ที่มีสรรพคุณในด้านการรักษาโรคต่างๆมากมาย ในประเทศจีนมีการแนะนำให้คนไข้ที่เป็นโรคระดูขาว รับประทานเห็ดแครงที่ปรุงกับไข่เพื่อรักษาโรค และรับประทานร่วมกับใบชา โดยต้มเห็ดแครง 9-16 กรัม กับน้ำกินวันละประมาณ 3 ครั้ง ใช้เป็นอาหารบำรุงร่างกาย

เห็ดแครงกับเชื้อไวรัสและโรคมะเร็ง

ในประเทศญี่ปุ่นใช้เห็ดแครงเป็นยาเนื่องจาก พบสารประกอบพวก polysaccharide ชื่อว่า Schizophyllan (1,3 B-glucan) ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อไวรัส และยับยั้งเซลล์มะเร็งชนิด Sarcoma 180 และ Sarcoma 37 โดยทดลองในหนูขาว ยับยั้งได้มากกว่าร้อยละ 70


เห็ดแครงสวยและสมบูรณ์
ปราศจากเม็ดกรวด เม็ดทราย และสารเคมี